วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ไมยราบ Mimosa pudica, sensitive plant

ไมยราบ  Mimosa pudica  

กระทืบยอด หนามหญ้าราบ กะหงับ ก้านของ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ หญ้าปันยอบ ห่ำซิวเช่า ไจซิวเช่า 

ไมยราบ (อ่านว่า "ไม-ยะ-ราบ") ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimosa pudica (มาจากภาษาละติน: pudica แปลว่า "อาย ชมดชม้อย เหนียมอาย หรือหดลง") ภาษาอังกฤษ: sensitive plant, sleepy plant หรือ the touch-me-not ก็เรียก เป็นพืชล้มลุก ต้นสีน้ำตาลแดง แผ่ไปตามพื้น ชูยอดขึ้นข้างบน ต้นมีหนามขนาดสั้น ใบประกอบ ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ฝีกยาวเรียว แบนน มีขนเหนียวติดมือ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน

 สาเหตุที่ไมยราบเคลื่อนไหวหุบใบ ก็คือ ตามโคนก้านใบของไมยราบ จะมีกลุ่มเซลล์ที่ซึมซับน้ำเอาไว้จนมีแรงด­ันทำให้ใบกางอยู่ได้ แต่เมื่อไหร่ที่มันถูกสัมผัส รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน เซลล์เหล่านี้ก็จะคลายน้ำออกอย่างรวดเร็วท­ำให้สูญเสียแรงดัน ใบของไมยราบก็เลยหุบ








 
ไมยราบมักถูกปลูกขึ้นตามความอยากรู้อยากเห็นของผู้ปลูก โดยที่ใบประกอบสามารถพับเข้าหากันด้านใน หรือหุบได้ เมื่อถูกสัมผัส หรือเขย่า เพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคามต่าง ๆ และจะบานออกอีกครั้งเมื่อผ่านไปราวหนึ่งนาที พืชในตระกูลใกล้เคียงกันและมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันได้แก่ ผักกระเฉด

ในทางสมุนไพร ไมยราบมีรสจืดเฝื่อน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ระดูขาว แก้ไตพิการ ต้นแห้งต้มกับน้ำกินแก้อ่อนเพลีย ตานขโมย โรคกระเพาะอาหาร ใช้ทาแก้ผื่นคันและหัด ใบสดตำผสมกับเกลือและพิมเสน ใช้พอกแผลพุพอง รากแห้ง ต้มน้ำแก้ปวดประจำเดือน ปวดศีรษะ



การหุบของใบ

ไมยราบเป็นที่รู้จักในด้านความสามารถพิเศษของมันในด้านการเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันของพืช เช่นเดียวกับพืชอักหลากหลายสายพันธ์ุ มันได้รับความสามารถในการตอบสนองต่อแสงโดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะใบหรือ "หุบ" ใบ โดยสามารถหุบใบในตอนกลางคืน และบานในตอนกลางวัน[6] ความสามารถของพืชประเภทนี้ได้รับการศึกษาเป็นครั้งแรกโดย Jean-Jacques d'Ortous de Mairan.

นอกจากนี้ใบของไมยราบยังสามารถหุบเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าประเภทต่างๆ เช่น การสัมผัส การเป่า หรือการเขย่า การตอบสนองเช่นนี้ถูกเรียกว่า การเคลื่อนไหวเพื่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวเกิดขึ้น เมื่อบริเวณใด บริเวณหนึ่งของเซลล์พืช สูญเสียแรงดันของเหลวซึ่งเป็นแรงที่ถูกกระทำลงบนผนังเซลล์โดยน้ำภายในแวคิวโอลของเซลล์ และส่วนประกอบอื่น ๆ ของเซลล์ เมื่อต้นพืชถูกรบกวน บริเวณบางบริเวณบนก้านใบจะถูกกระตุ้นให้ปล่อยสารเคมี อาทิ โปแตสเซียม ไอออน ซึ่งนำน้ำออกจากแวคิวโอล และแพร่ออกมาจากเซลล์ในที่สุดซึ่งทำให้เซลล์สูญเสียความดันภายในเซลล์ไป และเซลล์ก็ยุบตัวลง ความแตกต่างของความดันในบริเวณที่แตกต่างกันของเซลล์เป็นผลให้ใบเดี่ยวแต่ละใบหุบเข้าหากัน และใบประกอบทั้งใบก็ยุบตัวลง ปฏิกิริยานี้สามารถส่งผ่านไปยังใบใกล้เคียงได้ คุณลักษณะนี้มีอยู่ทั่วไป สำหรับพืชในวงศ์ย่อยสีเสียด ในวงศ์ถั่ว ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าทำไมไมยราบจึงวิวัฒนาการคุณลักษณะเช่นนี้ขึ้นมา แต่นักวิทยาศาสตร์หลายท่านคิดว่าพืชสามารถใช้ความสามารถเช่นนี้เพื่อย่อส่วนลงเพื่อเป็นการป้องกันตนเองจากสัตว์กินพืช โดยสัตว์ต่าง ๆ อาจจะกลัวพืชที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว และจะเลือกกินพืชที่มีปฏิกิริยาตอบสนองน้อยกว่า คำอธิบายหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้คือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วสามารถขับไล่แมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ไปได้